มหัศจรรย์เปลือกองุ่น เรสเวอราทรอล สารอาหารเพื่อการย้อนวัย
เรสเวอราทรอล (Resveratrol)
เป็นสารกลุ่มโพลีฟีนอล ที่พบในไวน์แดง เปลือกองุ่น เปลือกถั่วลิสง และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่บางชนิด หน้าที่ของเรสเวอราทรอลในพืช คือ เป็นสารซึ่งทำหน้าที่เป็นระบบป้องกันภัยของพืช จากอันตรายจากการบาดเจ็บ การติดเชื้อ และโรคของพืช
เรสเวอราทรอล สามารถยืดอายุขัยของยีสต์ซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียวได้ถึง 70% ซึ่งเป็นกลไกเดียวกับการยืด อายุขัยของชีวิตมนุษย์ ต่อมาจึงได้มีการทดลองในสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น หนอน ปลามีกระดูกสันหลัง พบว่า ได้ผลเช่นเดียวกัน
นักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมุติฐานว่า เมื่อบริโภคเรสเวอราทรอลเข้าไปในร่างกาย จะไปกระตุ้นยีน เซอร์ทูอิน วัน (Sirtuin-1) ซึ่งปกติจะถูกกระตุ้นเมื่อร่างกายสิ่งมีชีวิตถูกจำกัดแคลอรี่ (Caloric Restriction) การกระตุ้น (Sirtuin-1) มีผลให้เกิดการกระตุ้นการเผาผลาญ เป็นโอกาส และความหวังของคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก การจำกัดแคลอรี่ในทางการแพทย์ เป็นผลให้อายุขัยยืนยาวขึ้น มีความอ่อนเยาว์มากขึ้น และร่างกายทั่วไปแข็งแรงขึ้น
มีการรับประทานเรสเวอราทรอล เพื่อป้องกัน และร่วมบำบัดโรคมะเร็ง โดยออกฤทธิ์กระตุ้นการฆ่าตัวตาย ของเซลล์มะเร็ง ต่อมามีงานวิจัยในมนุษย์ ในการใช้เรสเวอราทรอล เป็นอาหารเสริมในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งผิวหนัง
ผลงานวิจัยที่โดดเด่นของเรสเวอราทรอลในยีสต์ และในสัตว์ทดลอง กว่า 4,000 ชิ้น มีดังนี้
- การยืดอายุขัยของเซลล์ยีสต์ได้ถึง 70% ซึ่งเป็นกลไกเดียวกับการจำกัดปริมาณอาหารเพื่อยืดอายุขัย ของเซลล์มนุษย์
- งานวิจัยในหนูทดลองในปี 2006 ที่ประเทศฝรั่งเศส ถึงฤทธิ์ในการป้องกันโรคเบาหวาน และโรคอ้วนในหนู รวมทั้งผลการกระตุ้นการเผาผลาญของร่างกาย
- กระตุ้นการผลิตสเต็มเซลล์จากไขกระดูก ส่งผลให้มีการซ่อมแซมทั่วร่างกาย
- ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง สร้างความยืดหยุ่นให้ผนังหลอดเลือด
- ปรับสมดุลโคเลสเตอรอลในเลือด
- การป้องกันโรคพาร์กินสัน และโรคความจำเสื่อมอัลไซเมอร์
- ป้องกันการเกิดมะเร็ง และร่วมบำบัดโรคมะเร็งที่เป็นแล้ว
ขนาดรับประทานในมนุษย์ มีคำแนะนำที่หลากหลาย ตั้งแต่ 20 มก. – 100 มก. ต่อวัน
References
- Fremont L, Belguendouz L, Delpal S (1999). “Antioxidant activity of resveratrol and alcohol-free wine polyphenols related to LDL oxidation and polyunsaturated fatty acids”.Life Sci. 64 (26): 2511–21.
- Ungvari Z, Orosz Z, Rivera A, Labinskyy N, Xiangmin Z, Olson S, Podlutsky A, Csiszar A (May 2007). “Resveratrol increases vascular oxidative stress resistance”. Am. J. Physiol. Heart Circ. Physiol. 292 (5): H2417–24.
- as DK, Maulik N (February 2006). “Resveratrol in cardioprotection: a therapeutic promise of alternative medicine”. Mol. Interv. 6 (1): 36–47.