สารสกัดเมล็ดองุ่น และสารสกัดขิ้นชัน สองแรงแข็งขัน สูตรสารอาหารต้านมะเร็ง
สารสกัดเมล็ดองุ่น
ผลงานวิจัยมากมายทั่วโลก แสดงให้เห็นว่าสารสกัดเมล็ดองุ่น เป็นอาหารเสริมที่แนะนำให้ผู้ป่วยมะเร็งบริโภค ในระดับเซลล์ สารสกัดเมล็ดองุ่นมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นอันตรายต่อดีเอ็นเอ และการเปลี่ยนแปลงของยีน สารสกัดเมล็ดองุ่นสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านมได้ถึง72% และกระตุ้นการฆ่าตัวตายของเซลล์มะเร็งเต้านมได้ถึง 33% สตรีที่บริโภคสารสกัดเมล็ดองุ่น หรือผลิตภัณฑ์จากองุ่น มีโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมได้น้อยกว่าสตรีที่ไม่ได้บริโภคถึง 34% การบริโภคสารสกัดเมล็ดองุ่น ยังให้ผลป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้อีกด้วย
สารสกัดเมล็ดองุ่นมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างกลุ่มหลอดเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงเซลล์มะเร็ง (Anti-Angiogenesis) เป็นการตัดทางเดินอาหารที่ไปเลี้ยงเซลล์มะเร็ง มีฤทธิ์ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งตับอ่อน และให้ผล ยับยั้งการสลายคอลลาเจนในเนื้อเยื่อ ทำให้หยุดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังอวัยวะอื่นได้
สารสกัดขมิ้นชัน
ขมิ้นชันมีสารออกฤทธิ์ชื่อ เคอร์คิวมิน (Curcumin) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งหลายชนิดในหลอดทดลอง และยับยั้งการเจริญเติบโต และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งหลายชนิดในสัตว์ทดลอง
นักวิจัยพบว่า สารสกัดขมิ้นชัน สามารถนำมาใช้บริโภค เพื่อป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งช่องปาก มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งทรวงอก และมะเร็งผิวหนัง สารเคอร์คิวมินในขมิ้นชันยังมีฤทธิ์ทำให้เนื้องอกหดตัวอีกด้วย สารเคอร์คิวมินสามารถถูกดูดซึมได้จากส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ และแทรกซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นมะเร็งของลำไส้ใหญ่ ยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ให้ผลดีกับการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก
สารสกัดขมิ้นชัน สามารถนำมาใช้บริโภค เพื่อป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง และยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งหลายชนิด
References
- Do MH, Lee SS, Jung PJ, Lee MH. Intake of fruits, vegetables, and soy foods in relation to breast cancer risk in women: a case-control study. Nutr Cancer. 2007;57(1):20-7.
- Brasky TM, Kristal AR, Navarro SL, et al. Specialty supplements and prostate cancer risk in the VITamins and Lifestyle (VITAL) cohort. Nutr Cancer. 2011;63(4):573-82.
- Huang S, Yang N, Liu Y, et al. Grape seed proanthocyanidins inhibit colon cancer-induced angiogenesis through suppressing the expression of VEGF and Ang 1. Int J Mol Med. 2012 Dec;30(6):1410-6.
- Lopez-Lazaro, M.; Kock, N. D.; Moore, J. E.; Lin, E. Y.; Mosley, L. J., et al. (2008). “Anticancer and carcinogenic properties of curcumin: considerations for its clinical development as a cancer chemopreventive and chemotherapeutic agent”. Molecular Nutrition and Food Research 52 (Supplement 1): S103–S127.