สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Gingko Biloba Extract) สารอาหารซ่อมสมอง เพิ่มความจำ ป้องกันอัลไซม์เมอร์
มนุษย์พยายามที่จะเสาะแสวงหาสารอาหารเพื่อการบำรุงสมอง และ ซ่อมแซมเซลล์สมองที่ได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุ แรงกระแทก หรือ ภาวะสมองขาดเลือด เนื่องจากเส้นโลหิตในสมองแตกหรือตีบตัน รวมทั้งการพยายามชะลอเซลล์สมองที่เสื่อมจากโรคอัลไซม์เมอร์ สูตรสารอาหารที่ทำหน้าที่นี้ จะต้องประกอบด้วยกลุ่มสารอาหารที่ผ่านเยื่อหุ้มสมองได้ ทำหน้าที่หลากหลาย และ เสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกัน
อะเซทิล แอลคาร์นิทีน (Acetyl L-Carnitine)
อะเซทิล แอลคาร์นิทีน เป็นอนุพันธุ์ของแอล คาร์นิทีน ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันเซลล์ทั้งร่างกายจากความเสื่อม งานวิจัยส่วนใหญ่ของอะเซทิล แอลคาร์นิทีนเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวกับสมอง ในเรื่องของการทำให้อารมณ์ดีขึ้น การทำให้ความทรงจำ และ ความจำดีขึ้น
ความแตกต่างของแอล คาร์นิทีน และ อะเซทิล แอลคาร์นีทีน คือ อะเซทิล แอลคาร์นิทีนผ่านเยื่อหุ้มสมองได้ และ ทำงานได้ดียิ่งขึ้นเมื่อมีการใช้ร่วมกับโคคิวเทน และ อัลฟา ไลโปอิค แอซิด ในการช่วยให้การทำงานของไมโตคอนเดียร อวัยวะเล็กๆที่ทำหน้าที่เป็นโรงงานผลิตพลังงานให้กับเซลล์ ทำงานได้ดีขึ้น
งานวิจัยที่โดดเด่นของอะเซทิล แอล คาร์นีทีนเป็นงานวิจัยในการซ่อมสมองที่ได้รับบาดเจ็บจากการขาดเลือด จากเส้นเลือดตีบ หรือ เส้นเลือดแตก และ เป็นความหวังของวงการแพทย์ว่า ในอนาคต อะเซทิลแอลคาร์นิทีนจะถูกใช้เป็นยาจำเป็นในห้องฉุกเฉินของทุกโรงพยาบาล เพื่อรักษาและฟื้นฟูสมองที่บาดเจ็บจากทุกกรณี
ฟอสฟาทิดิลซีรีน (Phosphatidylserine)
ฟอสฟาทิดีลซีรีนมีความสำคัญต่อผนังเซลล์ของเซลล์ประสาททุกชนิดในร่างกาย นอกจากนี้ มันยังกระตุ้นให้มีการหลั่งโดปามีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่สำคัญในการควบคุมอารมณ์ และ การเคลื่อนไหวร่างกายของมนุษย์ และ ยังเพิ่มการผลิตสารสื่อประสาทอะเซทิลโคลีนอีกด้วย ซึ่งอะเซทิลโคลีนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้และความจำ ทำให้สมองใช้น้ำตาลได้ดี ลดระดับคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หลั่งเมื่อมนุษย์มีความเครียด และ กระตุ้นการทำงานของเส้นประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้
นักวิทยาศาสตร์พบว่า การที่มนุษย์ได้รับฟอสฟาทิดีลซีรีนเป็นอาหารเสริม จะทำให้ชะลอความเสื่อมของสมอง และฟื้นฟูเซลล์สมอง ในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความจำ อารมณ์ และ สมาธิ ช่วยป้องกัน และ ฟื้นฟูสมองจากความจำเสื่อมชนิดดีเมนเทีย (Dementia) คือ มีการเสื่อมในทุกส่วนของสมอง และ ฟื้นฟูความจำที่เสื่อมเนื่องจากสูงอายุ
อัลฟา ไลโปอิค แอซิด (Alpha Lipoic Acid)
อัลฟา ไลโปอิค แอซิด ผ่านเยื่อหุ้มสมองได้ ทำหน้าที่ปกป้องเซลล์สมอง และ เซลล์ประสาทสมองจากการถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ และ มีแนวโน้มที่ดีในการใช้ซ่อมสมองที่บาดเจ็บหลังอาการขาดเลือด รวมทั้งความจำเสื่อมชนิดต่างๆที่เกิดจากอนุมูลอิสระที่มากเกินไปทำลายเซลล์สมอง
โคลีน ไบทาร์เทรต (Choline Bitartrate)
โคลีนเป็นสารตั้งต้นในการผลิตอะเซทิลโคลีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมความทรงจำ และ ความจำ โคลีนจะช่วยให้ ความทรงจำดีขึ้น สมองแจ่มใส สดชื่นมีพลังมากขึ้น สมองสามารถคิดหาเหตุผลได้ดีขึ้น และ เฉียบคมขึ้น ว่องไวขึ้น มีความสามารถในการพูดมากขึ้น สมาธิดีขึ้น โคลีนเป็นสารสื่อประสาทที่สำคัญในขบวนการเรียนรู้ทุกชนิด และ มีการนำมาใช้ในเด็กและผู้ใหญ่สมาธิสั้น
สารสกัดจากใบบัวบก (Centella asiatica Extract)
สารสกัดจากใบบัวบก ปกป้องเซลล์สมองจากความเสียหายจากความเป็นพิษของโลหะหนัก และ มีแนวโน้มที่จะใช้ป้องกันความจำเสื่อม ปกป้องเซลล์สมองและเซลล์ประสาทจากพิษอะลูมินัม
สารสกัดจากใบบัวบกมีฤทธิ์ในการฟื้นฟูเซลล์สมองและเซลล์ประสาท ทำให้สมาธิดีขึ้น และ ชะลอความชรา สารสำคัญในใบบัวบกมีถึง 28 ชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอเชียติค แอซิด (Asiatic Acid) มีฤทธิ์แรงมากในการยับยั้งการเกิดคราบเบต้าอะมิลอยด์ (Beta-Amyloid) ซึ่งทำให้เป็นอัลไซม์เมอร์ และ ต้านอนุมูลอิสระ จึงเป็นสารอาหารที่มีแนวโน้มสูงที่จะนำมาใช้ป้องกันและร่วมรักษาโรคความจำเสื่อมอัลไซม์เมอร์
สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Gingko Biloba Extract)
สารสกัดจากใบแปะก๊วยมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงเซลล์สมองและอวัยวะส่วนปลาย นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ป้องกันไม่ให้เซลล์ประสาทสมองเสียหายจากรอยโรคของผู้ป่วยความจำเสื่อมชนิดอัลไซม์เมอร์ ที่มีการทำลายเซลล์ประสาทสมองไปเรื่อยๆ งานวิจัยหลายชิ้นสรุปว่า สารสกัดจากใบแปะก๊วยช่วยเพิ่มความจำทั้งในระยะสั้น และ ระยะยาว รวมทั้งความสามารถในการคิด ในผู้ป่วยอัลไซม์เมอร์ หรือ ผู้ป่วยความจำเสื่อมชนิดดีเมนเทีย (Dementia) ที่เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ และ ค่อยๆเสื่อมในทุกส่วนของสมอง
ในผู้ป่วยความจำเสื่อมชนิดอัลไซม์เมอร์ สารสกัดใบแปะก๊วยช่วยให้กระบวนการคิด การเรียนรู้ และ ความสามารถในการจำดีขึ้น ใช้ชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น พฤติกรรมในการเข้าสังคมดีขึ้น ซึมเศร้าน้อยลง นอกจากนี้ ยังมีฤทธิ์ในการทำให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย และ ถูกนำมาใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะวิตกกังวล และ ช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้น มีสมาธิดีขึ้น
References
- Amenta F, Ferrante F, Lucreziotti R, Ricci A, Ramacci MT, Dipartimento di Scienze Neurologiche, Universita La Sapienza, Rome, Italy. Reduced lipofuscin accumulation in senescent rat brain by long-term acetyl-L-carnitine treatment. Arch Gerontol Geriatr 1989 Sep-Oct;9(2):147-53.
- Crook TH, Tinklenberg J, Yesavage J, Petrie W, Nunzi MG, Massari DC. Effects of phosphatidylserine in age-associated memory impairment. Neurology. 1991 May;41(5):644-9.
- Jiang, Tianyi, Fei Yin, Jia Yao, Roberta D Brinton, and Enrique Cadenas. “Lipoic Acid Restores Age-Associated Impairment of Brain Energy Metabolism through the Modulation of Akt/JNK Signaling and PGC1α Transcriptional Pathway.” Aging Cell 12, no. 6 (December 2013): 1021–31. doi:10.1111/acel.12127.
- Ridgway ND. The role of phosphatidylcholine and choline metabolites to cell proliferation and survival. Crit Rev Biochem Mol Biol. 2013
- Vaidya AB. The status and scope of Indian medicinal plants acting on central nervous system. Indian J Pharmacol. 1997;29:S340–3.
- Amieva H, Meillon C, Helmer C, Barberger-Gateau P, Dartigues JF. Ginkgo biloba extract and long-term cognitive decline: a 20-year follow-up population-based study. PLoS One. 2013;8(1):e52755. doi: 10.1371/journal.pone.0052755. Epub 2013 Jan 11.