กระเทียมสกัด สารอาหารปรับสมดุลไขมันในเลือด
ภาวะไขมันในเลือดสูง
เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคต่างๆมากมาย โดยเฉพาะโรคของหลอดเลือดไม่ว่าจะเป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ หรือแตก ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะอัมพาต อัมพฤกษ์ หรือโรคหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งจะนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือดได้
สารอาหารที่ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ได้แก่ กลุ่มน้ำมันชนิดดี เช่น น้ำมันปลา น้ำมันเมล็ดองุ่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีสารอาหารจากธรรมชาติ ซึ่งมีงานวิจัยสนับสนุน ในการลดระดับไขมันในเลือด ดังนี้
เลซิทิน
มีรายงานว่า เลซิทินช่วยควบคุมระดับโคเลสเตอรอล โดยทำหน้าที่เป็นตัวละลายไขมันในเลือด ทำให้ไขมันแตกตัวเป็นอนุภาคเล็กๆ นักโภชนาการแนะนำให้รับประทานเลซิติน เพื่อป้องกันไขมันจับตัวที่ผนังหลอดเลือด
อาร์ติโช๊ค
เป็นพืชพื้นเมืองของแอฟริกาเหนือมีสารออกฤทธิ์ชื่อ ไซนาริน (Cynarin) ช่วยลดไขมันในเลือด ทั้งโคเลสเตอรอลตัวร้าย (LDL) และไตรกลีเซอร์ไรด์ และเพิ่มโคเลสเตอรอลตัวดี (HDL) ไซนารินช่วย การทำงานของตับได้ด้วย และมีสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ช่วยบำบัดอาการตับอักเสบเรื้อรัง ต่างกับยาลดไขมันโดยทั่วไป ซึ่งมักจะทำให้ค่าเอนไซม์ในตับสูงขึ้น
กระเทียมสกัด
จากการวิจัยพบว่า สารซัลเฟอร์ในกระเทียม คือ อัลลิซิน (Allicin) สามารถลดปริมาณโคเลสเตอรอลรวม และโคเลสเตอรอลตัวร้าย (LDL) ได้ดี สูตรที่มีเลซิทิน ร่วมกับกระเทียม จะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้ดียิ่งขึ้น
สำหรับผู้ที่มีปัญหาทั้งโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์สูง ควรรับประทานน้ำมันปลาเสริม วันละ 2,000 – 3,000 มิลลิกรัม จะทำให้การลดโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
References
- Kraft K. Artichoke leaf extract—recent findings reflecting effects on lipid metabolism, liver and gastrointestinal
- T. A. Wilson, C. M. Meservey, and R. J. Nicolosi, “Soy lecithin reduces plasma lipoprotein cholesterol and early atherogenesis in hypercholesterolemicmonkeys and hamsters: beyond linoleate,” Atherosclerosis, vol. 140, no. 1, pp. 147–153, 1998.
- On the effect of garlic on plasma lipids and lipoproteins in mild hypercholesterolaemia. Simons LA, Balasubramaniam S, von Konigsmark M, Parfitt A, Simons J, Peters W.Atherosclerosis. 1995 Mar; 113(2):219-25