Ubiquinol ในน้ำมันมะกอก สุดยอดโคคิวเทน สุดยอดสารอาหารบำรุงหัวใจ และลดความดันโลหิต

Spread the love

โคเอนไซม์คิวเทน หรือโคคิวเทน (Coenzyme Q10) มีอีกชื่อหนึ่งว่า Ubiquinone (ยูบิควิโนน) เมื่อเรารับประทานโคเอนไซม์คิวเทนเข้าไปในร่างกาย Ubiquinone จะถูกเปลี่ยนรูปเป็น Ubiquinol (ยูบิควินอล) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ออกฤทธิ์โดยตรง

นักวิทยาศาสตร์พบว่า ในคนแต่ละคน ร่างกายจะมีความสามารถในการเปลี่ยน Ubiquinone ไปเป็น Ubiquinol ได้ไม่เท่ากัน และยังพบว่า ร่างกายสามารถดูดซึม Ubiquinol ได้ดีกว่า Ubiquinone มีการประมาณว่า ในปริมาณที่เท่ากัน Ubiquinol จะมีระดับยาในเลือดหลังการรับประทานมากกว่า Ubiquinone ถึง 2-3 เท่า (เทียบการรับประทาน Ubiquinol 30 มก. เท่ากับ การรับประทานโคเอนไซม์คิวเทน (Ubiquinone) ถึง 100 มก.)

เมื่อเรารับประทานโคคิวเทนเข้าไป โคคิวเทนส่วนหนึ่ง ยังคงอยู่ในรูปแบบของ Ubiquinone ในขณะที่บางส่วนถูกเปลี่ยนเป็น Ubiquinol ซึ่งเป็นรูปแบบที่ออกฤทธิ์ การรับประทาน Ubiquinol ซึ่งเป็นรูปแบบที่ออกฤทธิ์โดยตรง จะทำให้ใช้ปริมาณในการรับประทานน้อยกว่า การกินโคคิวเทนถึงประมาณ 3 เท่า ระยะเวลาในการออกฤทธิ์รวดเร็วกว่า และระยะเวลาในการออกฤทธิ์จะอยู่ได้นานกว่าด้วย

ในโรคที่ต้องใช้การรับประทานโคคิวเทนในปริมาณมากต่อวัน เช่น โรคหัวใจ และหลอดเลือด และโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งต้องการการรับประทานโคคิวเทนถึงวันละ 100 มก./วัน จะสามารถเทียบได้กับการรับประทาน Ubiquinol ในปริมาณ 30 มก./วัน เท่านั้น เพื่อจะได้รับผลแบบเดียวกัน

งานวิจัยทางการแพทย์ของการใช้โคเอนไซม์คิวเทนในปัจจุบัน มีตั้งแต่การรับประทานโคคิวเทนในการป้องกันและร่วมรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด การป้องกันมะเร็งผิวหนัง และป้องกันความชราของผิวพรรณ การป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งเต้านม การปรับสมดุลน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน และการป้องกันการถูกทำลาย และสูญเสียความยืดหยุ่นของด้านในผนังหลอดเลือด การชะลอความก้าวหน้าของโรคพาร์กินสัน การป้องกันการปวดศีรษะไมเกรน การกระตุ้นภูมิต้านทาน การป้องกันโรคของเหงือก และฟัน การป้องกันสายตาเสื่อม และการเพิ่มความแข็งแรง และจำนวนสเปิร์มที่มีชีวิตในเพศชาย

โทโคไตรอินอล (Tocotrienol) เป็นรูปแบบของวิตามินอีที่ดีที่สุดในธรรมชาติ สามารถแทรกตัวอยู่ในผนังเซลล์ได้ดีกว่าวิตามินอีในรูปแบบอื่นๆ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง

ซีลีเนียม อะมิโน แอซิด คีเลท ซีลีเนียม เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงประสิทธิภาพ ทำงานร่วมกับวิตามินอี หากได้รับพร้อมกันจะมีประสิทธิภาพสูงในการขจัดอนุมูลอิสระ และยังช่วยกระตุ้นเอนไซม์ที่ต้านอนุมูลอิสระให้ทำงานดีขึ้น ซีลีเนียมจำเป็นสำหรับการทำงานของกล้ามเนื้อ รวมทั้งกล้ามเนื้อหัวใจ

ไพริดอกซีน ไฮโดรคลอไรด์ (วิตามินบี 6) ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายให้แข็งแรง ช่วยป้องกันการเกิดนิ่วในไต ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ วิตามินบี6จะช่วยสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง และยังทำให้ hemoglobin นำออกซิเจนได้เพิ่มขึ้น

วิตามินบี 12 ช่วยเปลี่ยนสารอาหารที่รับประทานเข้าไปให้อยู่ในรูปของกลูโคสเพื่อเป็นแหล่งพลังงานในร่างกาย เสริมการทำงานของระบบประสาทและไขสันหลัง ช่วยในกระบวนการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง ป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดมีขนาดใหญ่ผิดปกติ

กรดโฟลิค ( วิตามินบี 9) มีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญโปรตีน มีความสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง มีความจำเป็นต่อการแบ่งตัวของเซลล์ นอกจากนี้ร่างกายต้องใช้ในกระบวนการเผาผลาญน้ำตาลและกรดอะมิโน

References

  1. Dhanasekaran M, Ren J. The emerging role of coenzyme Q-10 in aging, neurodegeneration, cardiovascular disease, cancer and diabetes mellitus. Curr Neurovasc Res. 2005 Dec;2(5):447-59.
  2. Wang XL, Rainwater DL, Mahaney MC, Stocker R. Cosupplementation with vitamin E and coenzyme Q10 reduces circulating markers of inflammation in baboons. Am J Clin Nutr. 2004 Sep;80(3):649-55.
  3. Rosenfeldt FL, Pepe S, Linnane A, et al. Coenzyme Q10 protects the aging heart against stress: studies in rats, human tissues, and patients. Ann NY Acad Sci. 2002 Apr;959:355-9.

Spread the love
error: Content is protected !!