แอสต้าแซนทิน ผสมสารสกัดจากดอกดาวเรือง และน้ำมันรำข้าว สุดยอดสารอาหารบำรุงสายตา

Spread the love

แอสต้าแซนทิน จากสาหร่ายสีแดงพันธุ์ Haematococcus Pluvialis

แอสต้าแซนทิน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง และยังมีคุณสมบัติในการปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์จากการทำลายของอนุมูลอิสระ ปกป้อง DNA หรือสารพันธุกรรมในเซลล์จากการถูกทำลาย ซึ่งป้องกันการกลายพันธุ์ของเซลล์ เป็นการป้องกันมะเร็งได้ ป้องกันเซลล์ผิวจากการถูกทำลายโดยแสงแดด และมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นระบบภูมิต้านทาน สามารถผ่านเยื่อหุ้มสมองได้ ทำให้แอสต้าแซนทินมีคุณสมบัติที่โดดเด่นในการปกป้องเซลล์สมอง ไขสันหลัง และระบบประสาท พิทักษ์หลอดเลือด และสามารถใช้ร่วมกับสารสกัดเมล็ดองุ่นในการป้องกันเส้นเลือดเสื่อม และเส้นเลือดแตกได้เป็นอย่างดี

แอสต้าแซนทินได้รับการยกย่องจากวงการแพทย์ ให้เป็นสุดยอดสารอาหารบำรุงสายตา เนื่องจากสามารถผ่านเยื่อหุ้มจอตา และเข้าไปทำลายอนุมูลอิสระในส่วนต่างๆ ของดวงตา รวมทั้งเลนส์ตา และจอประสาทตา และมีงานวิจัยมากมายในการใช้ป้องกัน และร่วมบำบัด ต้อกระจก ต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม ตาแห้ง ตาบอดกลางคืน และสายตาอ่อนล้า ขนาดรับประทานที่ใช้ในงานวิจัยส่วนใหญ่คือ 6 มก./วัน

โรคของสายตา และการมองเห็นขนาดที่ใช้ป้องกันขนาดที่ใช้บำบัด
สายตาอ่อนล้า2-4 มก./วัน4-6 มก./วัน
ต้อกระจก2-4 มก./วัน6-12 มก./วัน
ต้อหิน2-4 มก./วัน6-12 มก./วัน
จอตาเสื่อม2-4 มก./วัน6-12 มก./วัน
หลอดเลือดดำจอตาอุดตัน2-4 มก./วัน4-6 มก./วัน
ตาแห้ง2-4 มก./วัน4-6 มก./วัน
ตาอักเสบ2-4 มก./วัน4-6 มก./วัน
ตาบอดตอนกลางคืน2-4 มก./วัน4-6 มก./วัน
ตาเบลอ ตาไม่คมชัด2-4 มก./วัน6-12 มก./วัน

สารสกัดจากดอกดาวเรือง

ให้สารลูทีน และ ซีแซนทีน (Lutein and Zeaxanthin) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ซึ่งผ่านเยื่อหุ้มจอตาได้ พบได้ที่บริเวณเลนส์ตา และจอตา โดยพบมากที่สุดบริเวณจุดภาพชัดของจอตา ซึ่งจะช่วยดูซับแสงสีฟ้าก่อนที่จะทำลายจุดภาพชัดหรือ Fovea ของจอตา มีงานวิจัยพบว่าการรับประทานลูทีน และซีแซนทีน ช่วยป้องกัน และลดอาการจอประสาทตาเสื่อม ชะลอความเสื่อมของจอตาและเลนส์ตา ป้องกันต้อกระจก ต้านอนุมูลอิสระ ขนาดรับประทานในงานวิจัยคือ 6-10 มก./วัน

References

  1. Guerin M, Huntley ME, Olaizola M Haematococcus astaxanthin: applications for human health and nutrition . Trends Biotechnol. (2003)
  2. Sangeetha RK, Baskaran V Retinol-deficient rats can convert a pharmacological dose of astaxanthin to retinol: antioxidant potential of astaxanthin, lutein, and ?-carotene . Can J Physiol Pharmacol. (2010)
  3. (2001). “A randomized, placebo-controlled, clinical trial of high-dose supplementation with vitamins C and E, beta carotene, and zinc for age- related macular degeneration and vision loss: AREDS report no. 8.” Arch Ophthalmol 119(10): 1417-36.
  4. Seddon, J. M., et al. (1994). “Dietary carotenoids, vitamins A, C and E, and advanced age-related macular degeneration. Eye Disease Case Control Study Group.” JAMA 272(18): 1413-20

Spread the love
error: Content is protected !!