อัลฟา ไลโปอิค แอซิด (Alpha-lipoic acid) และ อะเซทิล แอล คาร์นิทีน (Acetyl-L-Carnitine) สารอาหารชะลอวัยระดับเซลล์

Spread the love

ในเซลล์ของเรามีอวัยวะเล็กๆ อยู่หลายอวัยวะ แต่มีอวัยวะหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญมาก ทำหน้าที่เป็นเหมือนโรงงานที่ผลิตพลังงานให้เซลล์ใช้ คือ ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria)เซลล์แต่ละเซลล์จะมีไมโตคอนเดรียระดับหลักร้อย ถึงหลักพันขึ้นกับว่าเซลล์นั้นต้องใช้พลังงานในการดำรงชีวิตมากแค่ไหนเซลล์ที่ต้องใช้พลังงานมาก ก็จะมีจำนวนไมโตคอนเดีรยมากไปด้วยมีการประมาณการว่า เซลล์หัวใจ 1 เซลล์ มีจำนวนไมโตคอนเดีรยถึง 5,000 ชิ้น นอกจากเซลล์หัวใจแล้ว เซลล์ที่ใช้พลังงานมากอื่นๆก็จะมี เซลล์ตับ เซลล์ไต เซลล์สมอง เซลล์กล้ามเนื้อ และเซลล์ในอวัยวะที่ผลิตฮอร์โมน

ไมโตคอนเดรียในร่างกายมนุษย์ มีจำนวนมากถึง 1,000,000,000,000,000 (หนึ่งพันล้านล้าน) ไมโตคอนเดรียทำหน้าที่ผลิตพลังงานถึง 90% ของร่างกาย ไมโตคอนเดรียเป็นอวัยวะที่มีคุณสมบัติพิเศษ เพราะมีเยื่อหุ้มเซลล์ และมี DNA ของตัวเอง นั่นคือ มียีนส์ของตัวเอง ซึ่งไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของยีนส์ในเซลล์ ไมโตคอนเดรียแบ่งตัวเองได้ ลดจำนวนลงได้และเพิ่มจำนวนได้เอง

สารอาหารหลายชนิด มีความสำคัญต่อการมีชีวิตรอดการเพิ่มจำนวน และการผลิตพลังงานภายในไมโตคอนเดรีย หนึ่งในสารที่มีความสำคัญกับไมโตคอนเดรีย คือ อัลฟา ไลโปอิค แอซิด

อัลฟา ไลโปอิค แอซิด (Alpha-lipoic acid) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง และมีคุณสมบัติละลายได้ทั้งในน้ำ และน้ำมันทำให้มันผ่านเยื่อหุ้มสมองได้ด้วย ร่างกายของเราผลิตอัลฟา ไลโปอิค แอซิด ได้เอง แต่ผลิตได้เป็นจำนวนน้อยๆ และเมื่อเราอายุมากขึ้นจะผลิตได้น้อยลงเรื่อยๆ เมื่อเราอายุประมาณ 60 ปี ปริมาณ อัลฟา ไลโปอิค แอซิด ที่เราผลิตได้จะน้อยมากๆ จนเรารู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา

บทบาทของอัลฟา ไลโปอิค แอซิดในร่างกาย

1. ป้องกันการเสื่อมของไมโตคอนเดรีย และ DNA ในไมโตคอนเดรียอัลฟา ไลโปอิค แอซิด จึงถูกจัดว่าเป็นสารอาหารชะลอความชราระดับเซลล์ และยังเป็นปัจจัยร่วม หรือ Cofactor ในกระบวนการหายใจระดับเซลล์ เพื่อผลิตพลังงานให้เซลล์ใช้ด้วย

2. ต้านอนุมูลอิสระภายในเซลล์ และภายนอกเซลล์ นอกจากเป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูงแล้ว อัลฟา ไลโปอิคแอซิด ยังมีความสามารถในการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ของสารต้านอนุมูลอิสระภายในร่างกายที่สำคัญอีก 3 ชนิด คือ วิตามินซีวิตามินอี และกลูต้าไธโอน ซึ่งเป็นทั้งสารต้านอนุมูลอิสระ และทำหน้าที่กำจัดสารพิษภายในเซลล์ การรับประทานอัลฟา ไลโปอิคแอซิด จะไปเพิ่มระดับกลูต้าไธโอน วิตามินซี วิตามินอีในร่างกายของเรา

3. ป้องกันโรคที่เกิดจากความเสื่อมได้กว้างขวางมากหลายชนิดรวมทั้งร่วมรักษาโรคที่ทำให้ร่างกายเกิดอนุมูลอิสระจำนวนมากเช่น โรคเครียด หรือการเจ็บป่วยเรื้อรัง หรือผู้ที่ร่างกายสัมผัสกับสารพิษ และมลภาวะในปริมาณมาก และเป็นระยะเวลานานกลุ่มที่รับประทานยาเคมีต่อเนื่องเป็นเวลานาน รวมทั้งกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดการรับประทาน อัลฟา ไลโปอิค แอซิด จะช่วยป้องกันอันตรายของเซลล์ร่างกาย จากสภาวะ และโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวานสารพิษสะสม โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือดเส้นเลือดในสมองตีบ หรือแตก ต้อกระจก อวัยวะภายในเสื่อมมะเร็ง โรคระบบประสาท และร่างกายเป็นอันตรายจากรังสี และคลื่นต่างๆ เช่น คลื่นโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้ อัลฟา ไลโปอิคแอซิด ยังป้องกันคอลลาเจนใต้ผิวหนังเสื่อม และแข็ง จากการถูกทำาลายโดยอนุมูลอิสระ และยังป้องกัน ผิว ผม เล็บ ข้อต่อกระดูก และกระดูกอ่อนไม่ให้เสื่อมเร็ว รวมทั้งป้องกันความชราของผิวพรรณ

4. ป้องกันการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปกติเป็นเซลล์มะเร็งโดยการป้องกันอันตรายของ DNA หรือยีนส์ในเซลล์จากการกลายพันธุ์ และป้องกัน RNA ที่ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนในเซลล์จากการกลายพันธุ์ด้วย

5. ล้างพิษโลหะหนัก โดยการจับโลหะหนักออกจากร่างกาย อัลฟาไลโปอิค แอซิด เป็น Chelating Agent คือ สารจับโลหะหนักออกจากร่างกายทุกส่วนที่มีประสิทธิภาพสูงมาก โดยเฉพาะสารปรอท และยังจับโลหะหนักชนิดอื่นได้ด้วย มีอาร์เซนิคทองแดง เหล็กส่วนเกิน แคดเมียม สังกะสี แคลเซียมส่วนเกินและตะกั่ว

6. ปรับสมดุลความดันโลหิต

7. ปรับสมดุลน้ำตาลในเลือด

สารอีกชนิดหนึ่งซึ่งมีความสำคัญ และใช้ร่วมกับอัลฟาไลโปอิค แอซิด ได้อย่างดี เป็นคู่เสริมสร้างพลังงาน และเสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกัน คือ อะเซทิล แอล คาร์นิทีน (Acetyl-L-Carnitine) ซึ่งเป็นรูปแบบของ แอล คาร์นิทีน ที่ผ่านเยื่อหุ้มสมองได้โดยตรง ทำให้อะเซทิล แอล คาร์นิทีน เป็นกรดอะมิโนที่มีงานวิจัยจำนวนมากในเรื่องที่เกี่ยวกับสมอง สารตัวนี้เดิมที่ยุโรปถูกจดทะเบียนเป็นยามาก่อน และถูกจดเป็นอาหารเสริมในภายหลัง ในปี 1980Acetyl-L-Carnitine ถูกจดเป็นยาในยุโรป เป็นยาสำหรับรักษาโรคหัวใจ และโรคทางระบบประสาทสมอง อีก 14 ปีถัดมาคือในปี 1994 มันถึงถูกจดทะเบียนได้เป็นอาหารเสริมในสหรัฐทำให้มีการหาซื้อได้ทั่วไป

บทบาทของอะเซทิล แอล คาร์นิทีนในร่างกาย

1. ป้องกันความเสื่อมของไมโตคอนเดีรย โดยที่อะเซทิล แอลคาร์นิทีน โคเอนไซม์ คิวเท็น และอัลฟา ไลโปอิค แอซิด ทำงานร่วมกันในการปกป้องไมโตคอนเดีรย ทำให้เรามีพลังงานพอที่จะมีชีวิตอยู่

2. ซ่อมแซมเซลล์สมอง หรือเซลล์ประสาทที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเสื่อม หรือเจ็บป่วย

3. ปกป้องเซลล์สมองไม่ให้เสียหายจากการขาดเลือดชั่วขณะ

4. ปกป้องเซลล์สมองจากสารพิษพวก Glutamate และ Ammoniaซึ่งสำคัญมากกับผู้ป่วยโรคไต เพราะในผู้ป่วยโรคไต ร่างกายอาจมีแอมโมเนียเกิน เป็นพิษกับสมอง แต่มีอะเซทิล แอล คาร์นิทีนป้องกันอยู่ ก็จะลดอันตรายลง

5. เพิ่มความจำ มีงานวิจัยว่า การรับประทาน Acetyl-L-Carnitineทำให้อารมณ์ดีขึ้น ความจำดีขึ้น ทั้งความจำเดิม และความจำใหม่ๆ โดยการเพิ่มการสร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อ อะเซทิล โคลีน(Acetylcholine)

6. เป็นความหวังใหม่ของการป้องกัน หรือร่วมรักษาความจำเสื่อมชนิดอัลไซม์เมอร์ โดยการไปลดการสะสมคราบสีเหลืองที่ทำให้สมองเสื่อม ที่เรียกว่า เบต้า อะมิลอยด์ พลั๊ค (Beta Amyloid Plague)

7. เพิ่มพลังงานให้กับเซลล์ทั่วร่างกาย โดยการดึงไขมันเข้าไปในไมโตคอนเดีรย ซึ่งเป็นอวัยวะเล็กๆ ในเซลล์ ไขมันที่ถูกดึงเข้าไปจะถูกเผาผลาญให้เกิดพลังงานให้เซลล์นำไปใช้ คาร์นิทีนเป็นอาหารเสริมอีกตัวหนึ่งที่ถูกจดเป็นยาด้วยในสหรัฐ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจที่อ่อนแรงทำงานได้ดีขึ้น และมีการนำมาใช้ในโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงภาวะอ่อนแรง อ่อนเปลี้ย กล้ามเนื้อ และหัวใจขาดพลังงาน

8. กระตุ้นภูมิต้านทาน

9. ชะลอความชรา และลดเม็ดสีชนิดหนึ่ง ที่เป็นสัญลักษณ์ของความแก่ ที่ชื่อไลโปฟิวซิน (Lipofuscin) ที่ทำให้เวลาคนแก่ตัวลง ผิวจะเป็นจุดด่างๆ ดำๆ บางทีก็เกิดจุดสีขาวๆ หรือสีเหลืองๆหรือสีน้ำตาลๆ ตามแขนขา

References :

  1. Wollin SD, Jones PJ. Alpha-lipoic acid and cardiovascular disease. JNutr. (2003)
  2. Shay KP, et al. Alpha-lipoic acid as a dietary supplement: molecularmechanisms and therapeutic potential. Biochim Biophys Acta. (2009)
  3. Acetyl-L-carnitine. Monograph” (PDF). Alternative Medicine Review. 15(1): 76–83. April 2010
  4. Bieber LL (1988). “Carnitine”. Annual Review of Biochemistry. 57: 261–83.

Spread the love
error: Content is protected !!