บทความสุขภาพ

สารอาหารจำเป็น สำหรับสตรีวัยทอง

วัยทอง
วัยทอง

ช่วงวัยทองของสตรี จะเป็นเวลาที่ร่างกายของผู้หญิงขาดฮอร์โมน และแร่ธาตุต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ปัญหาด้านผิวหนัง ปัญหาด้านระบบทางเดินปัสสาวะ และช่องคลอด ปัญหาด้านระบบทางเดินอาหาร และระบบขับถ่าย ปัญหาด้านระบบประสาทอารมณ์ และสภาพจิตอาการร้อนวูบวาบโรคหัวใจ โรคกระดูกบาง กระดูกผุ หรือกระดูกพรุน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารเข้าไปทดแทนสิ่งที่สูญเสียไป โดยสามารถเริ่มรับประทานได้ตั้งแต่ช่วงวัยทองต้น คือ อายุประมาณ40ปีขึ้นไป และเมื่อผ่านพ้นช่วงวัยทองแล้วก็สามารถหยุดรับประทานได้

สารสกัดจากถั่วเหลือง มีสารไฟโตเอสโตรเจนมีสูตรโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนของคนมีฤทธิ์ป้องกันมะเร็งได้ และอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคบางอย่างได้ เช่น โรคหัวใจขาดเลือดโรคมะเร็งของเนื้อเยื่อระบบสืบพันธุ์ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก และโรคกระดูกพรุนเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลลดอาการร้อนวูบวาบ หงุดหงิด อาการทางผิวหนัง อาการเยื่อบุบริเวณช่องคลอดอักเสบ แห้ง และยังช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล เพิ่มความหนาแน่นของกระดูก และลดการสูญเสียมวลกระดูกได

สารสกัดอัลฟัลฟา มีสารไฟโตเอสโตรเจน คือ ไอโซฟลาโวน ซึ่งจะเข้าไปชดเชย ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดต่ำลง ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกายรวมทั้งมีวิตามินดี และแร่ธาตุหลายชนิด ซึ่งจะสิวที่เกิดเนื่องจากฮอร์โมนเพศชายสูงรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้ช่วยทำให้ผิวกระเพาะแข็งแรง ช่วยโรคกระเพาะอาหาร ปวดท้องเพราะมีแก๊สมาก และทำให้การหลั่งของน้ำย่อยเป็นปกติ ให้ผลดีกับโรคเก๊าท์ และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ป้องกันการสะสมของกรดยูริค และกรดอื่นๆ ตามข้อต่อต่างๆ และป้องกันมะเร็งในอวัยวะที่สร้างฮอร์โมน เช่น มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ได้อีกด้วย

แมกนีเซียมอะมิโนแอซิดคีเลต ทำงานร่วมกับแคลเซียมในการควบคุมการหดตัว และการคลายตัวของกล้ามเนื้อ รวมทั้งกล้ามเนื้อหัวใจ และป้องกันภาวะกระดูกพรุน

ซีลีเนียมอะมิโนแอซิดคอมเพล็กซ์ จำเป็นต่อการเจริญเติบโต และการทำหน้าที่ของร่างกาย เป็นแร่ธาตุสำคัญในกระบวนการป้องกันมะเร็ง และโรคหัวใจป้องกันการเกิดต้อกระจก และจอประสาทตาเสื่อมต้านไวรัสบรรเทาเริมที่ปาก และโรคงูสวัด และทำให้คนไข้โรค (SLE) มีอาการดีขึ้น

สารอาหารที่จำเป็นสำหรับวัยทองนี้ นอกจากจะทำให้ผ่านพ้นช่วงวัยทองไปได้อย่างมีความสุขแล้วยังสามารถช่วยลดอาการสิวที่เกิดจากฮอร์โมนเพศชายสูง และยังทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส สวยงามขึ้นอีกด้วย


References

  1. Phytoestrogen content and estrogenic effect of legume fodder. PMID 7892287
  2. Ernst E (2002), “A systematic review of systematic reviews of homeopathy”, Br J Clin Pharmacol 54 (6): 577–582, doi:10.1046/j.1365-2125.2002.01699.
  3. Schaafsma, G. (2000) ‘The protein digestibility-corrected amino acid score. Journal of Nutrition 130, 1865S-1867S
Spread the love