บทความสุขภาพ

ทอรีน กรดอะมิโน ย้อนวัยสมอง

สมองของมนุษย์มีความสามารถในการปรับตัว เปลี่ยนแปลง ซ่อมแซมตัวเอง และ สร้างเซลล์สมองใหม่ได้ทอรีนเป็นกรดอะมิโนที่ไม่เพียงให้พลังงานกับเซลล์สมอง ยังให้พลังงานกับเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายอีกด้วย โดยการกระตุ้นการทำงานของไมโตคอนเดียร อวัยวะสำคัญในเซลล์ ที่ทำหน้าที่ผลิตพลังงานให้เซลล์ใช้ ทำหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

บทบาทของกรดอะมิโนทอรีนต่อสมอง

  • ป้องกันเซลล์สมองจากความเสียหาย จากสารพิษในสิ่งแวดล้อม รวมทั้งตะกั่ว และ ยาปราบศัตรูพืช
  • ป้องกันการเสื่อมของไมโตคอนเดียรของเซลล์สมอง ทำให้เซลล์สมองทุกเซลล์ได้รับพลังงานอย่างสม่ำเสมอ
  • ป้องกันเซลล์สมองเสียหายจากสารสื่อประสาทที่เกิดจากความเครียดที่มากเกินไป
  • มีโครงสร้างทางเคมีเหมือนสารสื่อประสาทกลุ่ม GABA (กาบ้า) ที่ทำให้สมองสงบและผ่อนคลาย ทำให้สมองไม่ตึงเครียด
  • เพิ่มความสามารถในการจดจำทั้งระยะสั้นและระยะยาว
  • เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ของสมอง
  • ลดการอักเสบของเซลล์สมอง
  • ป้องกัน และ ร่วมบำบัดอัลไซม์เมอร์และพาร์กินสัน
  • กระตุ้นการสร้างเซลล์สมองใหม่ ทำให้สมองยังมีความสามารถในการจดจำและการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ แม้ในสมองที่สูงวัย
  • ป้องกันเซลล์สมองเสียหายหลังสมองขาดเลือด หรือ ได้รับบาดเจ็บ
  • ลดความเสียหายของสมองจากสารเบต้าอะมิลอยด์ (Beta Amyloid) ซึ่งเป็นคราบสีเหลืองซึ่งทำลายสมองในผู้ป่วยอัลไซม์เมอร์

ทอรีน กรดอะมิโนย้อนวัยสมอง

ในปี 2015 ทีมนักวิจัยชาวสวิตเซอร์แลนด์ ได้ค้นพบว่าทอรีนสามารถกระตุ้นสเต็มเซลล์ในสมองหนูทดลองที่มีอายุเทียบเท่าคนวัยกลางคน ให้ผลิตเซลล์สมองใหม่ได้ ทำให้สมองของหนูย้อนวัยกลับไปเป็นสมองของหนูในวัยหนุ่มสาว และ เมื่อนำสเต็มเซลล์ของสมองของมนุษย์มาทดลองในจานเพาะเซลล์ที่ใส่ทอรีนลงไป ก็พบผลที่เกิดเช่นเดียวกัน ว่าสเต็มเซลล์ของเซลล์สมองมนุษย์สามารถแบ่งตัวเป็นเซลล์ใหม่ เมื่อถูกกระตุ้นด้วยทอรีน และ ยังทำให้เซลล์ประสาทงอกใหม่ และ ทำงานประสานกันเพิ่มขึ้นในจานเพาะเซลล์

ทอรีนป้องกันความเสียหายจากสมองขาดเลือด

ทอรีนป้องกันความเสียหายของเซลล์สมองจากการที่สมองขาดเลือด และ ลดความกว้างของบริเวณที่สมองเสียหายจากการขาดเลือดได้ และ ยังช่วยฟื้นฟูสมองหลังการขาดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์อื่นๆของทอรีนที่มีต่อร่างกาย

  • ทำให้เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายมีพลังงานมากขึ้น ด้วยกลไกการกระตุ้นการทำงานของไมโตคอนเดียร อวัยวะที่ทำหน้าที่ผลิตพลังงานให้เซลล์ใช้ ให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • ป้องกันน้ำตาลในเลือดสูง และ ลดภาวการณ์ดื้ออินซูลินในหนูทดลอง
  • ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานดีขึ้น และ ลดโอกาสการเกิดเส้นเลือดหัวใจแข็ง
  • ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม
  • ป้องกันหูชั้นในเสื่อม และ ป้องกันหูชั้นในเสียหาย
  • ป้องกันและร่วมบำบัดโรคลมชัก
  • บำรุงตับ และ ป้องกันตับจากการเกิดโรคต่างๆ

References

  • Menzie J, Pan C, Prentice H, et al. Taurine and central nervous system disorders. Amino Acids. 2014;46(1):31-46.
  • Suarez LM, Munoz MD, Martin Del Rio R, et al. Taurine content in different brain structures during ageing: effect on hippocampal synaptic plasticity. Amino Acids. 2016;48(5):1199-208.
  • Shivaraj MC, Marcy G, Low G, et al. Taurine induces proliferation of neural stem cells and synapse development in the developing mouse brain. PLoS One. 2012;7(8):e42935.
Spread the love