แมกนีเซียม (Magnesium) ดีไรโบส (D-ribose) สารอาหารให้พลังงานแก่หัวใจ
ดีไรโบส (D-ribose) เป็นน้ำตาลโมเลกุล 5 เหลี่ยมที่ร่างกายผลิตขึ้นได้เอง และเป็นสารสำคัญในกระบวนการทางเคมีที่สำคัญหลายปฏิกิริยาในสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปฏิกิริยาการหายใจระดับเซลล์ และการผลิตพลังงานให้เซลล์ใช้ ดีไรโบสเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างโมเลกุลชื่อ ATP (Adenosine Triphosphate) ซึ่งเป็นพลังงานชีวิตของเซลล์แต่ละเซลล์ ดีไรโบส ยังเป็นสารตั้งต้นในการสร้างโมเลกุลชื่อ NAD (Nicotinamide Adenine Dinucleotide) และ FAD (Flavin Adenine Dinucleotide) ซึ่งเป็นโมเลกุลสำคัญในกระบวนการหายใจของเซลล์ และยังเป็นโครงสร้างหลักของหน่วยพันธุกรรม หรือดีเอนเอ(DNA) และหน่วยสังเคราะห์โปรตีน หรืออาร์เอนเอ (RNA)
สี่สารอาหารสำคัญที่มีผลอย่างยิ่งยวดต่อการสร้างพลังงานของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและทำให้หัวใจของเราทำงานเป็นปกติ คือ โคเอนไซม์คิวเทน แอลคาร์นิทีน แมกนีเซียมและน้ำตาลดีไรโบส ปกติแล้วร่างกายของมนุษย์ผลิตน้ำตาลดีไรโบสได้เอง แต่ขบวนการผลิตค่อนข้างช้า และอวัยวะแต่ละอวัยวะก็ผลิตน้ำตาลดีไรโบสได้ไม่เท่ากัน อวัยวะที่ต้องใช้พลังงานมาก จะผลิตได้มาก เพราะจำเป็นต้องใช้ดีไรโบสจำนวนมาก ได้แก่ ตับต่อมหมวกไต เซลล์ไขมัน ส่วนเซลล์หัวใจเซลล์สมอง เซลล์เนื้อเยื่อประสาท เซลล์ประสาทเส้นประสาท และเซลล์กล้ามเนื้อจะผลิตแค่ปริมาณที่เพียงพอต่อการใช้ในแต่ละวัน
หัวใจกับดี-ไรโบส
หัวใจผลิตดีไรโบสได้แค่เพียงพอสำหรับการทำงานในแต่ละวันในสภาพที่การทำงานของหัวใจแข็งแรงเป็นปกติ แต่ในผู้ที่สุขภาพหัวใจไม่แข็งแรง ซึ่งได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ และหลอดเลือด จะเป็นกลุ่มที่พลังงานของกล้ามเนื้อหัวใจจะน้อยกว่าปกติ เซลล์หัวใจจะได้รับเลือดและออกซิเจน มาเลี้ยงเซลล์อย่างไม่สม่ำเสมอการผลิตดีไรโบสจะทำได้น้อยลง และขบวนการผลิตจะช้ากว่าปกติมาก ทำให้พลังงานที่ผลิตได้ต่ำลงไปอีก ทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจจะไม่สดชื่น และเหนื่อยง่าย
ดี-ไรโบสกับการบำบัดโรคต่างๆ ในทางการแพทย์
- ป้องกัน และร่วมบำบัดโรคหัวใจ ให้พลังงานแก่หัวใจ
- อาการปวดทั่วตัวและอาการอ่อนล้า อ่อนแรง
- ให้พลังงานทั่วร่างกายทันที
- ให้พลังงานแก่กล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น
- ช่วยอาการขากระตุกขณะหลับ ซึ่งผู้มีอาการมักจะนอนหลับไม่สนิท
- ช่วยให้การเคลื่อนไหวของร่างกายดีขึ้น และลดความถี่ของการเป็นลมชัก
- ช่วยให้ระบบภูมิต้านทานทำงานดีขึ้น
- ช่วยให้ไตทำงานดีขึ้น
- ปกป้องสมองจากความเสื่อม และร่วมบำบัดลมชัก
แมกนีเซียม (Magnesium) กับการทำงานของหัวใจ
หัวใจเป็นอวัยวะที่ต้องการแมกนีเซียมปริมาณมากที่สุดในบรรดาอวัยวะต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวใจห้องล่างซ้าย ซึ่งเป็นห้องที่มีขนาดใหญ่ และผนังหนาที่สุด เพราะต้องทำหน้าที่สูบฉีดเลือดที่มีออกซิเจน ซึ่งได้รับมาจากหัวใจห้องบนซ้ายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญในปฏิกิริยาเคมีในร่างกายมากกว่า 300 ปฎิกิริยา และทำหน้าที่ประสานการทำงานของเซลล์ต่างๆ ของกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อให้หัวใจเต้นเป็นปกติ หากเรามีระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำจะทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ และใจสั่น รวมถึงอาการหัวใจห้องล่างสั่นพริ้วการได้รับปริมาณแมกนีเซียมอย่างเพียงพอจะทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ
References :
- Chronic Fatigue Syndrome Treatment Guide, Erica F. Verrillo
- Omran, Heyder; McCarter, Dean; St Cyr, John; Lüderitz, Berndt (2004). “D-riboseaids congestive heart failure patients”. Experimental & Clinical Cardiology. Summer (9(2)): 117–118
- “Dietary Supplement Fact Sheet: Magnesium”. Ofce of Dietary Supplements, US National Institutes of Health. 11 February 2016. Retrieved 13 October 2016
- “Magnesium Overview”. China magnesium Corporation. Retrieved 8 May 2013
ผลิตภัณฑ์แนะนำ : แมกนีเซียม ดี-ไรโบส (30 แคปซูล)