บทความรู้ทันโรค

วัยทอง (Menopause)

Spread the love

คือ ภาวะที่สตรีเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน โดยรังไข่จะหยุดสร้างฮอร์โมนเพศหญิงที่มีชื่อว่า เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ส่งผลให้ไม่มีประจำเดือน ถ้าประจำเดือนขาดหายไปครบ 1 ปี แสดงว่ารังไข่ได้หยุดทำงานแล้ว และถือว่าได้เข้าสู่วัยทองอย่างสมบูรณ์ โดยอายุเฉลี่ยที่ผู้หญิงไทยเข้าสู่วัยทองประมาณ 48-52 ปี

คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่

  • มีอาการร้อนวูบวาบ โดยเฉพาะบริเวณลำตัวส่วนบน เช่น บริเวณหน้า คอ และอก ร่วมกับ อาการอื่น ได้แก่ เหงื่อออก หนาวสั่น วิตกกังวล หรือใจสั่นได้
  • ซึมเศร้า อารมณ์หงุดหงิด มีความวิตกกังวลง่าย
  • ผิวหนังเหี่ยวแห้ง และบาง ขาดความยืดหยุ่น เป็นแผล และกระได้ง่าย
  • ช่องคลอดแห้ง ติดเชื้อและคันในช่องคลอด เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้
  • โรคไขมันในเลือดสูงเพิ่ม โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันมากขึ้น เนื่องจากจากการขาดเอสโตรเจน เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนทำหน้าที่สำคัญในการลดไขมันไม่ดี( LDL)
  • มีภาวะโรคกระดูกพรุน
  • เพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์

*** หากมีอาการเหล่านี้แสดงว่าคุณอาจจะกำลังเข้าสู่ภาวะวัยทอง

วิธีดูแลตนเองรับมือกับวัยทอง

  1. อาหาร สตรีวัยทองควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นการกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต พืชตระกูลถั่ว เต้าหู้ งาดำ ปลาตัวเล็ก ผักใบเขียว เป็นต้น แคลเซียมที่รับเข้าไปจะเป็นตัวเสริมสร้างกระดูกเพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน นอกจากนี้ ควรควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือดโดยงดอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง และเลือกกินอาหารที่ย่อยง่าย
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ เต้นรำ รำมวยจีน เต้นแอโรบิก เป็นต้น
  3. ฝึกการควบคุมอารมณ์ให้มีความคิดในทางบวก และทำจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน
  4. ตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอปีละ 1 ครั้ง
    – ตรวจเช็คความดันโลหิต
    – ตรวจเลือดหาระดับไขมัน
    – ตรวจภายในเช็คมะเร็งปากมดลูก
    – ตรวจหามะเร็งเต้านม (Mammography)
    – ตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density)
    – รวมทั้งการตรวจระดับของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวัยทอง
  5. ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณารับฮอร์โมนทดแทน ในกรณีที่สตรีวัยทองมีอาการต่างๆ มาก หรือตรวจพบความผิดปกติ เช่น กระดูกบาง หรือกระดูกพรุน และมีความจำเป็นจะต้องได้รับฮอร์โมนเพิ่มเติม แพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนทดแทนตามความเหมาะสม

สารอาหารที่ให้ผลดีกับภาวะวัยทอง

สารสกัดจากถั่วเหลือง มีสารไฟโตเอสโตรเจนมีสูตรโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนของคนมีฤทธิ์ป้องกันมะเร็งได้ และอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคบางอย่างได้ เช่น โรคหัวใจขาดเลือดโรคมะเร็งของเนื้อเยื่อระบบสืบพันธุ์ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก และโรคกระดูกพรุนเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลลดอาการร้อนวูบวาบ หงุดหงิด อาการทางผิวหนัง อาการเยื่อบุบริเวณช่องคลอดอักเสบ แห้ง และยังช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล เพิ่มความหนาแน่นของกระดูก และลดการสูญเสียมวลกระดูกได

สารสกัดอัลฟัลฟา มีสารไฟโตเอสโตรเจน คือ ไอโซฟลาโวน ซึ่งจะเข้าไปชดเชย ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดต่ำลง ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกายรวมทั้งมีวิตามินดี และแร่ธาตุหลายชนิด ซึ่งจะสิวที่เกิดเนื่องจากฮอร์โมนเพศชายสูงรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้ช่วยทำให้ผิวกระเพาะแข็งแรง ช่วยโรคกระเพาะอาหาร ปวดท้องเพราะมีแก๊สมาก และทำให้การหลั่งของน้ำย่อยเป็นปกติ ให้ผลดีกับโรคเก๊าท์ และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ป้องกันการสะสมของกรดยูริค และกรดอื่นๆ ตามข้อต่อต่างๆ และป้องกันมะเร็งในอวัยวะที่สร้างฮอร์โมน เช่น มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ได้อีกด้วย

แมกนีเซียมอะมิโนแอซิดคีเลต ทำงานร่วมกับแคลเซียมในการควบคุมการหดตัว และการคลายตัวของกล้ามเนื้อ รวมทั้งกล้ามเนื้อหัวใจ และป้องกันภาวะกระดูกพรุน

ซีลีเนียมอะมิโนแอซิดคอมเพล็กซ์ จำเป็นต่อการเจริญเติบโต และการทำหน้าที่ของร่างกาย เป็นแร่ธาตุสำคัญในกระบวนการป้องกันมะเร็ง และโรคหัวใจป้องกันการเกิดต้อกระจก และจอประสาทตาเสื่อมต้านไวรัสบรรเทาเริมที่ปาก และโรคงูสวัด และทำให้คนไข้โรค (SLE) มีอาการดีขึ้น

สารอาหารที่จำเป็นสำหรับวัยทองนี้ นอกจากจะทำให้ผ่านพ้นช่วงวัยทองไปได้อย่างมีความสุขแล้วยังสามารถช่วยลดอาการสิวที่เกิดจากฮอร์โมนเพศชายสูง และยังทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส สวยงามขึ้นอีกด้วย

References

  1. Phytoestrogen content and estrogenic effect of legume fodder. PMID 7892287
  2. Ernst E (2002), “A systematic review of systematic reviews of homeopathy”, Br J Clin Pharmacol 54 (6): 577–582, doi:10.1046/j.1365-2125.2002.01699.
  3. Schaafsma, G. (2000) ‘The protein digestibility-corrected amino acid score. Journal of Nutrition 130, 1865S-1867S

ผลิภัณฑ์แนะนำ : เฟมินิ (30 แคปซูล)


Spread the love
error: Content is protected !!