บทความสาระสุขภาพ

เบต้า กลูแคน (Beta Glucan) และสารอาหารต้านมะเร็ง

Spread the love

มีสารอาหารต้านมะเร็ง ในแบบของแพทย์ทางเลือกหลายชนิด สามารถใช้ร่วมกับการรักษาของแพทย์แผนปัจจุบันได้ เนื่องจากผลการวิจัยทางการแพทย์ของสารสกัดแต่ละชนิด พบว่าเมื่อมีการนำมาใช้ร่วมกันสามารถให้ผลการรักษาที่ดีกว่าสำหรับโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น โรคมะเร็งที่เกี่ยวกับฮอร์โมนทั้งสตรี และบุรุษ เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก มะเร็งท่อนำไข่ มะเร็งรังไข่เป็นต้น ทั้งในแง่ของการป้องกันการเกิด การรักษาร่วม และป้องกันการกลับซ้ำของเซลล์มะเร็ง

เบต้ากลูแคน

ทำให้ระบบตรวจจับเซลล์ผิดปกติของร่างกายทำงานไวขึ้น และเม็ดเลือดขาวซึ่งทำหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอม ทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพขึ้น จึงทำลายเซลล์ที่มีโอกาสก่อมะเร็งได้อย่างรวดเร็ว ก่อนที่จะพัฒนาเป็นก้อนมะเร็งขึ้นการค้นคว้าพบว่า เบต้า กลูแคน ใช้ได้ผลดีในมะเร็งเต้านม และมะเร็งในอวัยวะ ที่สะสมไขมัน

สารสกัดจากเห็ดหลินจือ

กระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกาย และถูกนำมาใช้ร่วมกับการให้เคมีบำบัดเพื่อลดอาการข้างเคียงจากเคมีบำบัด นอกจากนี้ยังใช้ในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยมะเร็ง ที่ได้รับการรักษาแล้วด้วย

สารสกัดจากชาเขียว

มีสารกลุ่ม Polyphenols หรือ Tea Tannin ซึ่งมีฤทธิ์ป้องกันมะเร็ง โดยออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และการต้านการแบ่งตัวอย่างผิดปกติของเซลล์

สารสกัดจากขิง

มีสาร Gingerol ซึ่งยับยั้ง และป้องกันการก่อตัวของมะเร็งได้โดยเฉพาะมะเร็งรังไข่ และมะเร็งเต้านม

สารสกัดจากขมิ้นชัน

มีรายงานทางการแพทย์ถึงคุณสมบัติในการฆ่าเซลล์มะเร็งของขมิ้นชัน โดยการเหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งระยะต้นทำลายตัวเอง (Apoptosis) ก่อนที่จะเจริญเติบโตต่อไป จึงใช้ในแง่การป้องกันการเกิดมะเร็ง และป้องกันการกลับซ้ำของเซลล์มะเร็งได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติยับยั้ง การเติบโตลุกลามของเซลล์มะเร็ง และมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของร่างแหหลอดเลือดฝอยที่มาหล่อเลี้ยงเซลล์มะเร็ง และกระตุ้นภูมิต้านทาน

References

  1. Bass, L&Young, A. (1996). The Dietary Supplement Health and Education Act: A Legislative History and Analysis Washington D.C. Food and Drug Law Institute.
  2. Chan MM, Fong D, Soprano KJ, Holmes WF, Heverling H. Inhibition of growth and sensiti-zation to cisplatin-mediated killing of ovarian cancer cells by polphenolic chemopreventiveagents.J Cell Physiol. 2003 Jan;194(1):63-70.
  3. Ali BH, Blunden G, Tanira MO, Nemmar A. Somephytochemical,pharma cological and toxicological properties of ginger (Zingiber officinale Roscoe): a review of recent research. Food Chem Toxicol. 2008;46(2):409-20.

ผลิตภัณฑ์แนะนำ : เบต้าสไป (30 แคปซูล)


Spread the love
error: Content is protected !!